7 มกราคม 2565 : กรมวิทย์ ย้ำ ATK ตรวจเจอโควิดทุกสายพันธุ์ไม่มีจำแนก และไม่จำเป็นต้องสรรหาวิธีการตรวจพิสดารเพื่อรู้ว่าติดโอไมครอนหรือไม่ ขอให้แหย่จมูกถูกวิธีพอ แหย่จมูกลึก 2 ซม. ปั่นข้างละ 5 ครั้งและหยดน้ำยา ไม่จำเป็นต้องแหย่ต่อมทอมซิลก่อนแล้วมาแหย่จมูกซ้ำ
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงวิธีตรวจ ATK หาเชื้อโอไมครอน ด้วยการใช้ไม้แหย่ไปตรงต่อมทอมซิล จากนั้นแหย่จมูกอีกรอบว่า แม้ทั้งโพรงจมูกับช่องคอจะเป็นช่องเดียวกันในการตรวจหาเชื้อ แต่ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีพิสดาร ใช้วิธีการตรวจปกติก็เจอเชื้อแล้ว ขอให้ตรวจอย่างถูกต้องเท่านั้น โดยชุดตรวจ ATK ของระดับ home use ที่ใช้กันทั่วไปในท้องตลาด ต้องแหย่ไปในโพรงจมูกลึกประมาณ 2 ซม. จากนั้นปั่นให้ได้ข้างละ 5 รอบ ไม่ใช่ต้องเอาแบบไม่เจ็บเลย หรือ เจ็บมากๆ ขอให้ทำแบบพอดี เพื่อให้ได้เซลล์ในโพรงจมูกมาจากตรวจ จากนั้นหยดน้ำยา ก็เรียบร้อย ทราบผล ซึ่งการตรวจแบบนี้เป็นสากลพื้นฐาน ไม่ต้องใช้วิธีอื่น ซึ่งการตรวจ ATK ไม่ได้จำแนกสายพันธุ์ว่า อะไร แต่เป็นการตรวจว่าติดเชื้อโควิด ไม่ว่าจะเป็น เดลตา หรือโอไมครอนก็เจอ หมด
นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ส่วนแนวโน้มสายพันธุ์ที่พบขณะนี้ยังเป็นเดลตา อยู่แต่เชื้อว่าอีกนานก็โอไมครอน เนื่องจากแพร่ไว ในอนาคตไม่จำเป็นต้องมีการตรวจแยกสายพันธุ์อีกต่อไป อาจใช่การตรวจแบบสุ่ม ส่วนวิธีการรักษาอยากให้ประชาชนเข้าใจ ว่า เมื่อเจอผู้ป่วยก็จะใช้เรื่องการรักษา แบบ HI เป็นหลัก เพราะต้องมีการจำลองเตียงไว้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนัก หากอาการไม่รุนแรง เชื้อไม่ลงปอดก็สามารถรักษาตัวได้ที่บ้าน สำคัญที่การติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ส่วนการพบเชื้อฟูลโรนา ที่เป็นการผสมระหว่างเชื้ออินฟลูเอนซ่า กับ โคโรนาไวรัส ว่า เชื้อทั้ง 2 ตัว คือ ไข้หวัดใหญ่ และ โคโรนาไวรัส จัดเป็นเชื้อก่อโรคระบบทางเดินหายใจ มีลักษณะการแพร่เชื้อเหมือนกัน คือ ละอองฝอย หากสวมหน้ากากอนามัยป้องกัน ก็สามารถป้องกันได้ทั้ง 2 โรค และขณะนี้สามารถป้องกันและลดความรุนแรงของโรคได้ ด้วยการรับวัคซีน ทั้งไข้หวัดใหญ่ และโควิด