นพ.ศุภกิจ อธิบดีกรมการแพทย์ แถลงสถานการณ์โควิด(Dr. Supakit, Director-General of the Department of Medical Services Covid situation statement)

Purchase this product now and earn 0 - 0 credit!

กรมวิทย์ฯ แจงผลการตรวจโอไมครอน คาดสิ้นม.ค.นี้ ยึดครองทุกพื้นที่ไทย 100%  ปัจจุบันพบติดเชื้อ85% คนตปท.เข้าไทยติดเชื้อ 97%  ชี้โอกาสป่วยติดเชื้อซ้ำได้ มากถึง 100% เพราะโอไมครอนหลบภูมิ แต่ทำคนเจ็บหนักรุนแรงน้อยกว่า เดลตา ส่วนผู้สูงอายุ  70 ปีขึ้นไปมีโอกาสเสียชีวิตได้  

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์การติดเชื้อโอไมครอน ขณะนี้พบทุกพื้นที่ของไทย ไม่มีพื้นที่ไหนไม่ติดเชื้อโอไมครอน พบผู้ป่วยแล้ว 10,721 คน พื้นที่ติดเชื้อมากที่สุดได้แก่ กทม. 4,178 คน  รองลงมา ชลบุรี  837 คน  ภูเก็ต 434 คน ระยอง 355 คน  สมุทรปราการ 329 คน สุราษฎร์ธานี  319 คน กาฬสินธุ์ 301  คน  อุดรธานี  217 คน เชียงใหม่ และ ขอนแก่น จังหวัดละ 214 คน   ทั้งนี้จากการติดตามสถานการณ์โควิด ตั้งแต่ 11-17 ม.ค. 65  ในกลุ่มผู้ป่วยในคลัสเตอร์ต่างๆ และ กลุ่มผู้ป่วยซ้ำ รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ พบว่า ในคนทั่วไปมีการติดเชื้อโอไมครอนถึง 85%  ติดเชื้อเดลตา 15%  และพบสัดส่วนของผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง และเสียชีวิต พบว่า เป็นเดลตาถึง 33% สูงกว่าการติดเชื้อปกติถึง 2 เท่า แสดงว่าอัตราการติดเชื้อ โอไมครอนรุนแรงน้อยกว่าเดลตา และ พบว่า บุคลากรทางการแพทย์มีการติดเชื้อ เดลตา 25%  ติดเชื้อโอไมครอน 74%   ขณะเดียวกันพบว่าในส่วนของผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ พบติดเชื้อโอไมครอนถึง 97%  และพบว่าในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อซ้ำ8 คน เป็นการติดเชื้อโอไมครอนถึง 100% 

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า โอไมครอนแม้มีฤทธิ์รุนแรง น้อยกว่า เดลตา แต่หลบภูมิคุ้มกันได้ดี ทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้อีก จึงจำเป็นต้องมีการรับวัคซีน  คาดการณ์ว่า ในปลายเดือน มกราคม โอไมครอนจะแพร่ และยึดครองได้เกือบ 100% ทั้งนี้จากการติดตามอาการป่วยติดเชื้อ แม้โอไมครอนจะไม่รุนแรง แต่ในกลุ่มเปราะบาง ผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสียชีวิตได้ เนื่องจาก ปัจจัยสุขภาพร่างกายพื้นที่ฐานของตัวเอง เดิมอาจไม่ดีเท่าคนทั่วไป จึงมีโอกาสเสียชีวิตได้หลายเท่ากว่าคนปกติ ดังนั้น ต้องระมัดระวังในผู้สูงอายุ  และในอนาคตเมื่อมีการติดเชื้อโอไมครอนจำนวนมากขึ้น ก็ไม่จำเป็นที่ต้องมีการตรวจหาสายพันธุ์อีกต่อไปในส่วนของประชาชนทั่วไป แต่ในส่วนของกรมวิทย์ ฯ จะมีการสุ่มตรวจวิเคราะห์ หาสายพันธุ์ไวรัส มีการตรวจหาเชื้อทั้งตัว เพื่อรายงานต่อ GUSAID เพื่อป้องกันการกลายพันธุ์ และหากโชคดีเชื่อว่า การติดเชื้อโอไมครอนนี้จะเป็นตัวจบเกม

Excluding 7% tax
Clip length : 6:21
Editorial footage license terms

User rights change request!

Back