สถาบันราชานุกูล ฉีดวัคซีนเด็กกลุ่มเปราะบาง(Rajanukul Institute Vaccination of vulnerable children)

Purchase this product now and earn 0 - 0 credit!

สถาบันราชานุกูลเปิดฉีดวัคซีนเด็กกลุ่มเปราะบาง เด็กบกพร่องพัฒนาการและสติปัญญา 5-11ปี หลังพบ มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19สูงกว่าคนทั่วไปเกือบ10เท่า

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ตรวจเยี่ยมศูนย์ฉีดวัคซีน สถาบันราชานุกูล  ดินแดง กรุงเทพฯ พร้อมทั้ง เปิดโครงการ “Vaccinated Togeter ชวนลูกรับวัคซีนกัน” เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับกลุ่มเด็กบกพร่องพัฒนาการและสติปัญญา ที่มีอายุระหว่าง5-11ปี

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า  กลุ่มเด็กบกพร่องพัฒนาการและสติปัญญา เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้มีความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันไม่สามารถป้องกันตัวเองจากเชื้อโรคได้ และบางส่วนมีโรคประจำตัวร่วมด้วย  เมื่อเกิดการติดเชื้อโควิ-19 จะส่งผลต่อระบบต่างๆในร่างกาย จนมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้    ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าเด็กกลุ่มนี้มีอัตราการติดเชื้อและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสูงกว่าคนทั่วไปถึง 9.3 เท่า  จึงต้องให้ความสำคัญให้เด็กได้รับวัคซีนป้องกัน โควิด-19 อย่างทั่วถึง  หากเด็กกลุ่มนี้ได้รับวัคซีนโดยเร็ว จะช่วยป้องกันอาการรุนแรงจากการติดเชื้อ โควิด-19 และช่วยให้เด็กสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ซึ่งกรมสุขภาพจิต โดยสถาบันราชานุกูล มีการประสานองค์กรและสมาคมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเด็กออทิสติกหรือโรงเรียนสำหรับเด็กพิเศษให้นำเด็กมารับวัคซีน นอกจากนี้ยังมีการทำงานเชิงรุกในการให้ข้อมูลของวัคซีน  และเปิดลงทะเบียนให้ผู้ปกครองนำเด็กกลุ่มนี้เข้ารับการฉีดวัคซีน ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ปกครองให้ความร่วมมือและต้องการให้บุตรหลานได้รับวัคซีนเพื่อป้องกัน โควิด-19 อย่างต่อเนื่อง

โดยสถาบันราชานุกูล  เปิดบริการวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไฟเซอร์ สูตรฝาสีส้ม ให้กับกลุ่มเด็กบกพร่องพัฒนาการและสติปัญญา อายุระหว่าง5-11ปี มาตั้งแต่วันที่2 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา มีเด็กเข้ารับวัคซีน 350คน ต่อวัน โดยเด็ก1คน อนุญาตให้มีผู้ปกครองดูแล1คน เพื่อลดความแออัด    นอกจากนี้ที่ผ่านมากรมสุขภาพจิต  ยังได้ฉีดวัคซีน แก่ผู้ที่มีสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก และสมาธิสั้นอายุ18ปีขึ้นไปกว่า 3,800 คน และในเด็กอายุ 12-17 ปี กว่า269คน

Excluding 7% tax
Clip length : 5.34
Editorial footage license terms

User rights change request!

Back